เมนู

นิเทศจตุกะที่ 2


คำทั้งหมดในจตุกะที่ 2 ตื้นทั้งนั้น.

นิเทศจตุกะที่ 3


ในจตุกะที่ 3 ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจัยใด ปัจจยาการใด
มี เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้น ๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสว่า อิทํ วุจฺจติ
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ นามํ
นี้เรียกว่านามรูป
เรียกว่า นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
ตติยจตุกนิเทศ จบ

นิเทศจตุกะที่ 4


นิเทศแห่งนามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยในจตุกะที่ 4 แม้มิได้ตรัสว่า
"เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย" ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ" ดังนี้ ในนิเทศบทอดีตโดยลำดับ นั้นแม้มิได้ตรัส
ก็นับว่าเป็นอันตรัสแล้วโดยแท้ เพราะนามใดเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้นแหละ แม้
ผัสสะก็เป็นปัจจัยแก่นามนั้น เหมือนกันฉะนี้แล.
จตุตถจตุกนิเทศ จบ

อนึ่ง พึงทราบนัย 8 แม้มีสังขารเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่หนึ่ง
มีอวิชชาเป็นมูลซึ่งจำแนกไว้ 16 วาระ ในจตุกะ 4 ที่ทรงประกาศในอกุศลจิต

ดวงที่ 1 นี้ ส่วนพระบาลีทรงย่อไว้ และพึงทราบว่า ในอกุศลจิตดวงที่หนึ่ง
นั้นแหละ มี 9 นัย 36 จตุกะ และ 144 วาระ ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอกุศลจิตที่เหลือ โดยนัยนี้
แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็น
ไฉน).
ในพระบาลีนั้น เพราะในจิตที่พรากจากทิฏฐิ ไม่มีอุปาทานเกิด เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มอธิโมกข์ซึ่งเป็นนิบาตกระทำให้มั่นคง เป็น
ดุจอุปาทานเกิดในที่แห่งอุปาทาน. และเพราะในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส แม้
ตัณหาที่มีเวทนาเป็นปัจจัยก็ไม่มี ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มบทปฏิฆะที่เป็นกิเลสมีกำลัง
เป็นดุจตัณหาเกิดในที่ตัณหา ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละ ในที่แห่งอุปาทาน.
ส่วนในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแม้อธิโมกข์ เพราะ
ไม่มีการตัดสิน ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเป็นกิเลสมีกำลังไว้ในที่
แห่งตัณหาลดฐานะแห่งอุปาทานเสีย แต่ในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะมีอธิ-
โมกข์ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยอุทธัจจะซึ่งเป็นกิเลสมีกำลัง ในที่แห่งตัณหา
ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละไว ในที่อุปาทาน. ก็พระผู้พระภาคเจ้าทรง
แสดงเหตุสักว่า ความต่างกันในอกุศลทั้งหมด แล้วทรงย่อพระบาลีไว้ ก็
ความต่างกันนี้ ทรงแสดงไว้ในนิเทศอธิโมกข์นั้น เป็นนิเทศอธิโมกข์ที่ยังมิได้
เคยแสดงมาก่อน. คำที่เหลือมาในภายหลังทั้งนั้น.
ก็ในนิเทศแห่งอธิโมกข์ มีวินิจฉัยว่า
ที่ชื่อว่า อธิโมกข์ เพราะอำนาจการตัดสินอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ (การตัดสินใจ) เพราะอรรถว่า น้อมใจไปให้อารมณ์นั้น คือ

ถึงความตกลงใจ เพราะไม่มีความสงสัย. อาการที่ตัดสินอารมณ์ ชื่อว่า
อธิมุจฺจนา (กิริยาที่ตัดสินใจ) ที่ชื่อว่า ตทธิมุตฺตตา (ความตัดสินใจใน
อารมณ์นั้น) เพราะอรรถว่า ความน้อมใจไปในอารมณ์นั้น ก็ในจิตทุกดวง
พึงทราบประเภทแห้งนัยจตุกะโดยนัยที่กล่าวในปฐมจิต (อกุศล) นั่นแหละ
ก็เพราะในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาไม่มีนัย มีอุปาทานเป็นมูลอย่างเดียว
จึงมี 8 นัย 32 จตุกะ และเป็น 128 วาระ ฉะนี้แล.
อกุศลนิเทศ จบ

กุศลนิเทศ


กามาวจรกุศลจิต 8


กามาวจรกุลจิตดวงที่ 1


[358] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยวิญญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏ-
ฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นใน
สมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะ
สังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที 6 เกิดเพราะ
นามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็น
ปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ
เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
[359] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ?
การไม่โลภ กิริยาที่จะไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัดนัก
กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่เอาทรัพย์สมบัติ
ของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ